Learning Theories, Uncategorized

การเรียนรู้คืออะไร? What is learning?

การเรียนรู้ เป็นคำที่เราได้ยินอยู่เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่อยู่ในวงการการศึกษา อาจจะได้ยินคำว่า “การเรียนรู้” อยู่นับครั้งไม่ถ้วนในหนึ่งวันของการทำงานตามบริบทของการพูดหรือการกล่าวถึง หากเรานึกย้อนกลับไป เราได้ยินคำว่าการเรียนรู้ครั้งสุดท้าย เมื่อใด และเราให้คำนิยาม หรือเข้าใจคำว่า การเรียนรู้ ว่าอย่างไร และต่างบริบทกัน เราเองนิยามคำว่าการเรียนรู้เหมือนกันทุกครั้งหรือไม่ นอกจากนั้น หากเราใช้คำว่า การเรียนรู้ สืบค้นใน Google จะปรากฏความหมายที่หลากหลาย

อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาเกี่ยวกับการเรียนการสอนแล้ว เราสอนเพื่อให้ นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับแนวคิดหรือทักษะที่มีความจำเป็นสำคัญ ซึ่งครูต้องการถ่ายโยงความรู้ (knowledge transfer) และทักษะต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับโลกปัจจุบันให้นักเรียน เพื่อให้นักเรียนจะได้นำความรู้หรือทักษะนั้นไปใช้ในชีวิตประจำวัน ด้านวิชาการ และในการประกอบอาชีพ ซึ่งในกรณีเช่นนี้ ครูจำเป็นต้องมีขั้นตอนหรือกระบวนการในการถ่ายโยงความรู้ด้วยความเข้าใจอย่างลึกเกี่ยวกับการเรียนรู้ ซึ่งจะสามารถทำให้การวางแผนและใช้วิธีการเรียนการสอนที่มีความเหมาะสม อันจะทำให้การเรียนรู้ประสบความสำเร็จ โดยในฐานะ เช่นเดียวกับสถาปนิกที่จะต้องเข้าใจคุณสมบัติของไม้ เหล็ก และกระจก และวัตถุประสงค์ของตึก อาคารหรือสิ่งก่อสร้างก่อนที่จะลงมือออกแบบ ซึ่งก็เช่นเดียวกับครู ที่จะต้องเข้าใจองค์ประกอบที่สำคัญของการเรียนการสอนและกระบวนการเรียนรู้

อ่านเพิ่มเติม “การเรียนรู้คืออะไร? What is learning?”

Learning Model, Learning Theories, The 21st Century Learning

การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ (1)

โดย ดร.อนุชา โสมาบุตร

bill-gates-on-constructivism-ver-02-tgหากจะว่าไปแล้วมีครูและนักการศึกษาบางส่วนที่ยังนึกไม่ออกว่า เมื่อมีทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ (หรือทฤษฎีการสร้างความรู้ก็เรียก) จะนำไปเป็นพื้นฐานในการจัดการเรียนรู้อย่างไร ผู้เขียนได้เคยเขียนเกี่ยวกับทฤษฎีนี้มาแล้ว [อ่านเพิ่มเติม] โดยได้เสนอว่า ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์แบ่งเป็นสองกลุ่ม ได้แก่ ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์เชิงปัญญา ว่าด้วยการสร้างความรู้โดยอธิบายจากแนวคิดกระบวนการทางปัญญา และทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์เชิงสังคม โดยอธิบายการสร้างความรู้ที่ต้องมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม คำถามต่อมาคือจะนำแนวคิดใดไปใช้บ้าง หรืออย่างใดอย่างหนึ่งได้หรือไม่ โดยความเป็นจริงแล้ว ทั้งสองกลุ่มแนวคิดนี้มิได้มีแนวคิดที่ขัดแย้งกันเพียงแต่อธิบายคนละพื้นฐานเท่านั้นเอง หากแต่ทั้งสองได้มุ่งอธิบายกลไลการสร้างความรู้ของบุคคลเช่นเดียวกัน โดยในบทความนี้จะเสนอแนะแนวทางในการทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์เชิงปัญญามาเป็นพื้นฐานในการจัดการเรียนรู้ อ่านเพิ่มเติม “การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ (1)”

Learning Theories

ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ (Constructivist Theory)

โดย ดร.อนุชา โสมาบุตร

สาระสำคัญของทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์

ทฤษฎีที่นำมาเป็นรากฐานสำคัญในการสร้างความรู้ของผู้เรียน คือ ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์  (Constructivist Theory) เป็นทฤษฎีที่ว่าด้วยการสร้างความรู้ของผู้เรียน ซึ่งถ้าพิจารณาจากรากศัพท์ “Construct” แปลว่า “สร้าง” โดยในที่นี้หมายถึงการสร้างความรู้โดยผู้เรียนนั่นเอง

อ่านเพิ่มเติม “ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ (Constructivist Theory)”